วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

ชนิดของข้อมูล ตอนที่ 1 ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม - การเขียนโปรแกรม VB

การเขียนโปรแกรม VB

ชนิดของข้อมูล ตอนที่ 1


การเขียนโปรแกรม VB นั้น เราจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของ Visual Basic ก่อนนะครับ ในบทความนี้จะมากล่าวถึง ชนิดของข้อมูล สำหรับข้อมูลที่เราสามารถนำมาใช้ร่วมกับ VB นั้นแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้


  • ข้อมูลตัวเลข ก็คือตัวเลขทั้งหลายครับ 0 ถึง 9 ทั้งจำนวนเต็มและทศนิยม
  • ข้อมูลข้อความ เป็นอักขระ(ตัวอักษรตัวเดียว) และข้อความ(วลี กลุ่มคำ)
  • ข้อมูลวันเวลา เป็นข้อมูลอยู่ในรูปวันเดือนปี และเวลา (ชั่วโมง นาที วินาที) หรือผสมกันอยู่
  • ข้อมูลตรรกศาสตร์ เป็นข้อมูลที่มีค่าเป็นจริง (True) หรือเป็นเท็จ(False)
คราวนี้เรามาเจาะลึกข้อมูลตัวเลขกันก่อนนะครับ ว่ามีอะไรบ้าง

ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม

  • Byte                          1 ไบต์               0 ถึง 255
  • SByte                        1 ไบต์               -128 ถึง 127
  • Short                         2 ไบต์               -32,768 ถึง 32,767
  • UShort                      2 ไบต์               0 ถึง 65535
  • Integer                      4 ไบต์               -2,147,783,648 ถึง 2,147,483,647
  • UInteger                   4 ไบต์               0 ถึง 4,294,967,295
  • Long                         8 ไบต์              -9,223,372,036,854,775,808 ถึง 9,223,372,036,854,775,807
  • ULong                      8 ไบต์               0 ถึง 18,446,744,073,709,551,615

บางคนก็สงสัยว่า การเขียนโปรแกรม VB ทำไมเราต้องรู้พวกนี้ ก็ใช้ Integer หรือใช้ Long ไปทั้งหมดเลยก็สิ้นเรื่อง...ความคิดคุณถูกครับ สามารถทำได้ แต่ไม่ควรทำ การเขียนโปรแกรม VB ที่ดี หรือ การเขียนภาษาอื่นๆทุกภาษา โปรแกรมเมอร์ที่ดีควรใช้ทรัพยากรให้เหมาะสม เพื่อให้ตัวโปรแกรมไม่ใหญ่เกินความจำเป็น และทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

สมมติเรื่อง ผมรบกวนให้คุณ ไปเอารถมาช่วยขนส้มเช้งหน่อย จะเอาไปไหว้เจ้า มี 10 เข่ง 
  • คุณไปเอารถสามล้อมาขน จะเป็นยังไงครับ ขึ้นได้ไม่ถึง 5 เข่งแน่ๆ Fail
  • คุณไปเอารถกระบะมา ขนได้ 10 เข่ง เหลือพื้นที่อีกนิดหน่อย Good
  • คุณไปเอารถ 10 ล้อมา ขนได้ 10 เข่ง กับคนนอนปูเสื่อได้อีก 10 คน Over!
พอจะเห็นภาพคร่าวๆไหมครับ เปรียบเหมือนการเลือกใช้ชนิดข้อมูลให้เหมาะสม จะทำให้คุณเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ดีตั้งแต่พื้นฐานครับ การเขียนโปรแกรม VB ต้องเข้าใจพื้นฐานเล็กๆน้อยเสียก่อน มิฉะนั้นจะไปตกม้าตายกลางทางนะจ๊ะ บทความต่อไปจะมากล่าวถึงถึงข้อมูลชนิดทศนิยมและข้อมูลตัวเลขพิเศษ (Decimal)

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

รู้จักกับข้อมูลและตัวแปร - การเขียนโปรแกรมด้วย visual basic

การเขียนโปรแกรมด้วย visual basic

ข้อมูลและตัวแปรใน vb

รู้จักกับข้อมูลและตัวแปร

เนื่องจากการเขียนโปรแกรมต่างๆ ไม่ว่าจะภาษาอะไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญอันดับแรกคือ ข้อมูล (Data) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบตัวเลข หรือข้อความ แล้วสิ่งที่ทำให้ง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูลก็คือ ตัวแปร

ผมจะลองยกตัวอย่างให้ดูนะครับ ในส่วนนี้จะยังไม่พูดถึง code นะครับ

EX.01
สมมติผมมีข้อความแรก(Data) ว่า "หิวข้าวจังเลย"
ข้อความที่สอง คือ "ร้านไหนอร่อยบ้าง"
ชนิดข้อมูลแบบนี้เป็นข้อมูลแบบข้อความ ถ้าเรานำมันมาใส่กล่องล่ะ! จะดีกว่าไหม?
มี 2 ข้อความ จับมันใส่กล่อง 2 กล่อง ชื่อ กล่อง x กับ กล่อง y และกัน

x = "หิวข้าวจังเลย"
y = "ร้านไหนอร่อยบ้าง"

ข้อมูลจะไปอยู่ในตัวแปร x กับ y เรียบร้อยแล้ว...แล้วจะสร้างตัวแปรมาเพื่อ?

การเขียนโปรแกรมด้วย visual basic เราเก็บไว้เผื่อใช้อีก จะได้ไม่ต้องมาพิมพ์หลายรอบ แน่นอนว่าการเขียนโปรแกรม vb ไม่ได้ใช้ข้อความนี้เพียงครั้งเดียวแน่ เราจึงต้องจัดการข้อมูลเก็บลงไว้ในตัวแปรซะ มันจะทำให้ง่ายต่อการจัดการ ลองมาดูการเอาข้อความไปบวกกันในตัวอย่างต่อไป

EX.02
แบบไม่ใช้ตัวแปร        
 
"หิวข้าวจังเลย" + "ร้านไหนอร่อยบ้าง" = "หิวข้าวจังเลย ร้านไหนอร่อยบ้าง" 

แบบตัวแปร                 
x + y = "หิวข้าวจังเลย ร้านไหนอร่อยบ้าง"

เห็นความแตกต่างหรือยังครับ แบบตัวแปรนี่ง่ายกว่าและสะดวกต่อการเขียนโปรแกรมด้วย visual basic เยอะเลย จะเอาตัวแปรไปบวก ลบ คูณ หาร ก็แล้วแต่เพื่อนๆจะนำไปใช้เลยครับ ในบทความนี้อธิบายเป็นภาษาชาวบ้านนะครับ อย่า copy ตัวอย่างไปวางในโปรแกรม VB ล่ะ! บทความหน้าจะมากล่าวถึงชนิดของข้อมูลใน Visual Basic ครับ